สถานีวิทยุ ม.ก.เชียงใหม่สานต่อเจตนารมณ์แจกวิทยุทรานซิสเตอร์ ให้ผู้ฟังวิทยุไว้รับองค์ความรู้สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและข่าวสารสำคัญในทุกสถานการณ์ทั้งยามปกติและภัยฉุกเฉิน ที่เดียวของต้นแบบโรงเรียนเกษตรทางอากาศเชียงใหม่

สถานีวิทยุ ม.ก.เชียงใหม่สานต่อเจตนารมณ์แจกวิทยุทรานซิสเตอร์ ให้ผู้ฟังวิทยุไว้รับองค์ความรู้สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและข่าวสารสำคัญในทุกสถานการณ์ทั้งยามปกติและภัยฉุกเฉิน ที่เดียวของต้นแบบโรงเรียนเกษตรทางอากาศเชียงใหม่

11 ต.ค.65 – ที่สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ม.ก.) จังหวัดเชียงใหม่ ผศ.อนุพร สุวรรณวาจกกสิกิจ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุ ม.ก. ร่วมออกอากาศในรายการห้องสนทนา ม.ก. ช่วงพิเศษ โดยได้กล่าวถึงบทบาทสำคัญของสถานีวิทยุที่มีมาแต่ยุคกำเนิดถึงปัจจุบันที่ยุคดิจิทัลเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตของประชาชนอย่างมาก ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากแพลตฟอร์มต่างๆ มากขึ้น เช่น เว็บไซต์ โทรศัพท์มือถือ ที่สามารถรับสื่อต่างๆ ผ่านแอพพลิเคชั่นจำนวนมาก จึงไม่แปลกที่เราสามารถฟังวิทยุได้ทางมือถือ ทางเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้ทั่วโลก ไม่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ แต่ก็ยังมีจุดอ่อนบางอย่างที่วิทยุทรานซิสเตอร์สามารถให้ประชาชนเข้าถึงข่าวสารได้ เช่น ภาวะฉุกเฉินที่ไม่มีสัญญาณไฟฟ้า โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ตล่ม เป็นต้น สอดรับกับดำริของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เรื่องการแจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนผ่านวิทยุทรานซิสเตอร์ หากการสื่อสารปกติมีอุปสรรคไฟฟ้าดับ สัญญาณโทรศัพท์ล่ม อินเทอร์เน็ตล่ม สถานีวิทยุ ม.ก. เป็นสถาบันสื่อมวลชนที่มีเจตนารมณ์ชัดเจนในการเป็นสื่อเพื่อศาสตร์แห่งแผ่นดิน ให้ความรู้ด้านการเกษตร ภาษา วัฒนธรรมและบริการสาธารณะ ซึ่งเน้นการเผยแพร่เนื้อหาในด้านการนำศาสตร์ของแผ่นดินไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน มีการพัฒนารูปแบบรายการและเนื้อหาในทุกยุคสมัยและแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อสื่อสารองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ให้เข้าถึงประชาชนมากที่สุด เช่น การทำโครงการโรงเรียนทางอากาศให้องค์ความรู้ทางการเกษตร และองค์ความรู้ให้กับผู้สูงอายุในด้านต่างๆ เสมอมา ทั้งโรงเรียนข้าวและชาวนา โรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบ โรงเรียนปุ๋ยสั่งตัด และโครงการกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัย เป็นต้น ซึ่งจะมีการส่งมอบวิทยุทรานซิสเตอร์แก่กลุ่มผู้ฟังพื้นที่เป้าหมายตลอดมา เพื่อคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์และประโยชน์อื่นใดจากการรับฟังวิทยุ แม้ปัจจุบันจะมีการเข้าถึงผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ ก็ตาม จากการสำรวจของทางสถานีวิทยุ ม.ก. ก็ยังพบว่า มีกลุ่มผู้ฟังที่ยังฟังผ่านเครื่องวิทยุทรานซิสเตอร์อยู่ อีกทั้งยังพบว่า มีผู้ติดตามข้อมูลข่าวสารจากสถานีวิทยุ ม.ก. อยู่ทั่วประเทศ เพราะสถานีมีเครือข่ายทั้ง 4 ภูมิภาครองรับ และยังพบว่ามีผู้ติดตามฟังสถานีวิทยุ ม.ก.เชียงใหม่อยู่ที่ภาคอื่น เช่น ปทุมธานี,นครปฐม ศรีสะเกษ เป็นต้น ซึ่งเป็นกำลังใจสำคัญที่สถานียังมุ่งมั่นผลิตรายการและกิจกรรมดีๆ เพื่อประชาชนต่อไปโอกาสนี้ ผอ.สถานีวิทยุ ม.ก.ยังได้ร่วมจับรางวัลเครื่องวิทยุทรานซิสเตอร์ จากกิจกรรมการรายงานผลการรับฟังวิทยุกระจายเสียงในพื้นที่ ช่วงเดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา จากผู้เข้าร่วมจำนวน 122 คน มีรางวัลวิทยุฯจำนวน 10 เครื่อง ผู้ที่ได้รับรางวัล พื้นที่เชียงใหม่ได้แก่ 1.คุณสุรชาติ สุรนิภา จากพื้นที่ อ.แม่ริม 2.คุณทองอินทร์ อินตุ่น จากพื้นที่ อ.ดอยหล่อ 3.คุณอินทร หล้าปวน จากพื้นที่ อ.สันทราย 4.คุณอุเทน หอมปราชญ์ จากพื้นที่ อ.แม่แตง 5.คุณนงลักษณ์ พวงเงินนาค จากพื้นที่ อ.ดอยสะเก็ด 6.คุณประจัญ ชัยลัภนสวัสดิ์ จากพื้นที่ อ.สันกำแพง (มอบต่อให้คุณอัมพวรรณ ดวงใจ) 7.คุณนิตย์ หวลทัศน์ จากพื้นที่ อ.แม่แตง 8.คุณบัวไหล ตาวงค์ จากพื้นที่ อ.สันป่าตอง 9.คุณสิริพร ตุ่มแดง จากพื้นที่ อ.แม่ริม และ 10.คุณสันติสุข จากพื้นที่ อ.เมือง จ.ลำพูนโดยสถานีวิทยุ ม.ก.เชียงใหม่ จะจัดส่งให้แก่ผู้ฟังทางไปรษณีย์และไปมอบให้ผู้ฟังวิทยุในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูนบางส่วนด้วย หากมองย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2504 ในยุคเริ่มแรกของการก่อตั้ง สถานีวิทยุ ม.ก. ซึ่งเป็นสื่อภายใต้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อันเป็นสถาบันการศึกษาด้านการเกษตร ที่มีแหล่งองค์ความรู้เกี่ยวกับการเกษตร มากมาย แต่ยังมิได้ถูกนำเผยแพร่สู่ประชาชนและเกษตรกรเพื่อรับรู้ และนำไปใช้อย่างจริงจัง สื่อกระจายเสียงนี้จึงถูกใช้ในการเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ตั้งแต่ต้น ผ่านเครือข่าย am stereo ทั้ง 4 ภูมิภาคของประเทศ มาโดยตลอด จากผังรายการที่มีเนื้อหาทางการเกษตรกว่าร้อยละ 80 นอกนั้นจะเป็นเนื้อหาด้านภาษา วัฒนธรรม และบริการสาธารณะ ทั้งนี้ สถานีวิทยุ ม.ก. ได้แจกวิทยุทรานซิสเตอร์ หรือวิทยุธานินทร์ ที่หลายๆ ท่านรู้จักกันดี เพื่อเป็นวิทยุต้นแบบผ่านโครงการโรงเรียนเกษตรทางอากาศ ให้กับกลุ่มเกษตรกรตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 และได้ขยายวงกว้างในการแจกวิทยุระบบทรานซิสเตอร์ไปยังโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุทางอากาศ จนถึงปัจจุบัน.